สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
องคมนตรี ติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  
 



วันที่ 3 กันยายน 2561 พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพื้นที่ภาคกลาง ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ โครงการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ พร้อมด้วย ผู้บริหารกรมชลประทาน และนายพงศ์ศักดิ์ อรุณวิจิตรสกุล ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายชัชชม ชมประดิษฐ์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา นายชัยพร พรหมสุวรรณ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร นายอุดม คงช่วย ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 11 และเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 11 ร่วมให้การต้อนรับ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน(3 ก.ย.61) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมืองนครสวรรค์ 1,163 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง ส่วนที่เขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 820 ลบ.ม./วินาที กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการรับน้ำเข้าคลอง และระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง รวมประมาณ 494 - 550 ลบ.ม./วินาที พร้อมทั้งควบคุมน้ำให้ไหลผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 820 ลบ.ม./วินาที มีพื้นที่ได้รับผลกระทบเป็นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่งคลองบางบาล และคลองโผงเผง บริเวณ ต.หัวเวียง ต.บ้านกระทุ่ม อ.เสนา ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่จ.พระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร โดยในระยะนี้ระดับน้ำบริเวณดังกล่าวจะทรงตัว ซึ่งเป็นไปตามที่กรมชลประทานได้คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ โครงการชลประทานในพื้นที่ได้ประสานกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งเตือนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องแล้ว ในส่วนของการเตรียมพื้นที่รับน้ำนองในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา นั้น ปัจจุบันทุ่งบางระกำ เกษตรกรได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จทั้งหมดแล้ว พื้นที่รวมทั้งสิ้น 382,000 ไร่ พร้อมที่จะรับน้ำเข้าทุ่งได้ประมาณกลางเดือนสิงหาคมได้ประมาณ 550 ล้าน ลบ.ม. ส่วนในพื้นที่ลุ่มต่ำตอนล่างลุ่มน้ำเจ้าพระยา 12 ทุ่ง นั้น ขณะนี้เกษตรได้เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว คาดว่าจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จทั้งหมดประมาณกลางเดือนกันยายนนี้ พื้นที่รวมทั้งสิ้น 1.15 ล้านไร่ สามารถรับน้ำเข้าทุ่งรวมกันได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บริหารจัดการน้ำเหนือไหลหลากในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยการเร่งระบายน้ำให้ไหลลงทะเลเร็วขึ้น ด้วยการย่นระยะทางการไหลของน้ำจากเดิม 18 กิโลเมตร คงเหลือเพียง 600 เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาผลกระทบในช่วงน้ำทะเลหนุนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อีกทั้ง ยังช่วยเร่งระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาให้ออกสู่ทะเลได้เร็วขึ้น ลดปัญหาน้ำท่วมและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตจ.ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ ซึ่งประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ฯ มีขีดความสามารถในการระบายน้ำได้วันละประมาณ 45-50 ล้าน ลบ.ม. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ประมาณร้อยละ 13-15
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.