|
|
|
สำนักงานชลประทานที่ 11 มีหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดนนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ และบางส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สุพรรณบุรี, นครนายก,สระบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น |
|
|
|
ฝั่งตะวันออก มีพื้นที่ในแนวทิศเหนือ-ใต้ ตั้งแต่คลองระพีพัฒน์แยกตกจดอ่าวไทย
พื้นที่ในแนวตะวันออก-ตก ตั้งแต่แม่น้ำนครนายก-บางปะกงจดแม่น้ำเจ้าพระยา |
|
ฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ในแนวทิศเหนือ -ใต้ ตั้งแต่เจ้าเจ็ด-บางยี่หนจดอ่าวไทย
พื้นที่ในแนวตะวันออก - ตกตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา-บางปะกงจดแม่น้ำท่าจีน |
|
|
แสดงขอบเขตพื้นที่สำนักงานชลประทานที่ 11
|
|
สำนักงานชลประทานที่ 11 แบ่งพื้นที่ในความรับผิดชอบออกเป็นโครงการชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดังนี้ |
|
โครงการชลประทานจังหวัด แบ่งพื้นที่รับผิดชอบเป็น 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการชลประทานนนทบุรี
2. โครงการชลประทานปทุมธานี
3. โครงการชลประทานสมุทรปราการ
4. โครงการชลประทานสมุทรสาคร |
|
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา แบ่งพื้นที่รับผิดชอบด้านฝั่งตะวันออก และตะวันตก รวม 8 โครงการ ได้แก่
|
ฝั่งตะวันออก |
1. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ
2. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้
3. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร
4. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต
|
ฝั่งตะวันตก |
5. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ดบางยี่หน
6. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ
7. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล
8. โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ |
|
|
|
เนื่องจากสำนักงานชลประทานที่ 11 เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก่อนระบายลงสู่ทะเล ประกอบกับเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนและน้ำเก็บกัก จึงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณน้ำที่ไหลมาจากตอนบน ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่ และน้ำทะเลหนุนสูง
ดังนั้นหนึ่งในภาระกิจที่สำคัญยิ่งของสำนักงานชลประทานที่ 11 นั่นคือต้องมีการวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ฤดูน้ำหลากการบรรเทาและแก้ไขปัญหาขณะน้ำหลาก และการบูรณะซ่อมแซมหลังฤดูน้ำหลาก |