สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
รองนายกฯ นำทีมติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี เน้นย้ำทุกหน่วยงานเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว  
 



วันที่ 6 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมบัวหลวง ศาลากลางจังหวัดปทุมธานี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ   รองนายกรัฐมนตรี  ในฐานะประธานกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี พร้อมลงพื้นที่ตรวจติดตามการบริหารจัดการน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณท่าน้ำวัดโบสถ์ อ.สามโคก และประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย นายชุติมันต์  สกุลพราหมณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11
นายเอนก  ก้านสังวอน ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล  นายยงยส  เนียมทรัพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายธนกฤต   พหลทัพ  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานปทุมธานี นายปิยะ  ลืออุตติกุลวงศ์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ รักษาราชการแทน  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ นายมิตร  บุญจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ และ ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่าย พร้อมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานชลประทานที่ 11 และสำนักเครื่องจักรกลที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและรายงานการดำเนินงาน จากอิทธิพลพายุ โนรู และร่องความกดอากาศต่ำ ในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่าน  ทำให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมากกระจายตัวทั่วประเทศ   ส่งผลให้แม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาต่างๆ มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น และมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยที่จังหวัดปทุมธานี กรมชลประทาน ได้ใช้แนวคันกั้นน้ำฝั่งตะวันตกและตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  ในเขต อ.สามโคก และ อ.เมืองปทุมธานี เป็นแนวป้องกันน้ำ  พร้อมใช้ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ ที่อยู่ตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา เร่งสูบระบายน้ำที่ท่วมขัง
ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา  รวมทั้งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เพิ่มเติม เพื่อเสริมการระบายน้ำให้เร็วยิ่งขึ้น

สำหรับการบริหารจัดการน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ กรมชลประทาน   ได้ใช้สถานีสูบน้ำจุฬาลงกรณ์ 1 2 3 สูบน้ำจากคลองรังสิตฯ รวมประมาณวันละ 12.44 ล้าน ลบ.ม. ส่งต่อไปยังสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิตฯ ระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อช่วยลดปริมาณน้ำท่วมขังในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและลดปริมาณไม่ให้ไหลเข้าพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนเพิ่มประสิทธิภาพการระบายในคลองรังสิตฯ ด้วยการก่อสร้างโครงการสถานีสูบน้ำถาวรปากคลองรังสิตประยูรศักดิ์  ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี (2567-2569) เป็นการก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 6 เมตร จำนวน 3 ช่อง พร้อมสถานีสูบน้ำขนาด 10 ลบ.ม./วินาที จำนวน 10 เครื่อง ซึ่งหากดำเนินแล้วเสร็จจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากคลองรังสิตฯ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้ดียิ่งขึ้น พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้ กรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรน้ำในพื้นที่ และเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว  รวมทั้งเร่งดำเนินการซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำและสถานีสูบน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน  ปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถลดความเสียหายไม่ให้เกิดเป็นวงกว้างได้
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.