สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
รมว.เฉลิมชัย ติดตามการระบายน้ำคลองประเวศฯ  
 



วันนี้ (16 ก.ย.65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง บริเวณประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำท่าถั่ว จ.ฉะเชิงเทรา โดยมี นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร
รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายชุติมันต์  สกุลพราหมณ์  ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายยงยส  เนียมทรัพย์  รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายสมเดช ศรีวิเชียร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร นายธีรภัทร  สามไพบูลย์  ผู้อำนวยการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต พร้อมหัวหน้าฝ่าย และผู้เกี่ยวข้อง รายงานสรุปสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทาน ได้มีการระบายน้ำออกทางคลองแนวขวางทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก ผ่านสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำนครนายก และแม่น้ำบางปะกง ประกอบด้วย คลองรังสิตประยูรศักดิ์ ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านสถานีสูบน้ำกึ่งถาวรปากคลองรังสิต และระบายน้ำลงสู่แม่น้ำนครนายก ผ่านสถานีสูบน้ำเสาวภาผ่องศรี , คลองหกวาสายล่าง ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกง ผ่านสถานีสูบน้ำสมบูรณ์ , คลองบางขนาก ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกง ผ่านสถานีสูบน้ำบางขนาก , คลองนครเนื่องเขต ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกง ผ่านสถานีสูบน้ำท่าไข่ , คลองประเวศน์บุรีรมย์ ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกง ผ่านสถานีสูบน้ำท่าถั่ว
และคลองสำโรง ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำบางปะกง ผ่านสถานีสูบน้ำท่าปากตะคลอง นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้ง เครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม เสริมศักยภาพการระบายน้ำ ปัจจุบันสามารถระบายน้ำได้รวมกันประมาณวันละ 63 ล้าน ลบ.ม. ส่วนการบริหารจัดการน้ำในคลองประเวศบุรีรมย์ ซึ่งเป็นคลองหลักที่ใช้ระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกรมชลประทาน ได้สูบระบายน้ำในคลองประเวศฯ ออกทางสถานีสูบน้ำประเวศบุรีรมย์ลงสู่คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ก่อนจะสูบระบายออกทางแม่น้ำบางปะกง ผ่านทางสถานีสูบน้ำท่าถั่วและได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำท่าถั่วเพิ่มเติมอีก 8 เครื่อง เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยเร็ว และยังได้มีการขุดลอกตะกอนดินบริเวณด้านเหนือของสถานีสูบน้ำท่าถั่วให้กว้างและลึกขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากขึ้น พร้อมกับติดตั้งบาน Bulkhead Gate ที่ประตูน้ำ เพื่อเสริมความแข็งแรงอีกชั้นหนึ่ง เตรียมรองรับปริมาณน้ำที่จะไหลลงมาสมทบอีกในระยะต่อไป ทั้งนี้ การเร่งระบายน้ำดังกล่าว จะทำให้ระดับน้ำในคลองประเวศฯ บริเวณที่ไหลผ่านเขตลาดกระบังลดต่ำลง ซึ่งจะทำให้น้ำที่ท่วมขังอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำเขตลาดกระบังและพื้นที่ใกล้เคียง ไหลลงสู่คลองประเวศฯ ได้สะดวกมากขึ้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาว กทม. ฝั่งตะวันออก ที่กำลังประสบกับปัญหาน้ำท่วมขังอยู่ในขณะนี้ และคาดว่าหากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววันนี้ ส่วนในระยะยาว กรมชลประทาน ได้วางแผนดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสถานีสูบน้ำท่าถั่ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง หากแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มศักยภาพการระบายน้ำจากพื้นที่ออกสู่แม่น้ำบางปะกงให้เร็วขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังใช้คลองแนวตั้งฝั่งตะวันออกของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อแบ่งรับน้ำจากทางตอนบนของกรุงเทพมหานคร ระบายน้ำผ่านคลองพระองค์ไชยานุชิต ก่อนจะใช้สถานีสูบน้ำที่ตั้งอยู่ริมคลองชายทะเล ได้แก่ สถานีสูบน้ำตำหรุ สถานีสูบน้ำบางปลาร้า สถานีสูบน้ำบางปลา สถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ สถานีสูบน้ำเจริญราษฎร์ สถานีสูบน้ำคลองด่าน 2 สถานีสูบน้ำชลหารพิจิตร 1, 2, 3 สถานีสูบน้ำนางหงษ์ สถานีสูบน้ำพระยาวิสูตร และสถานีสูบน้ำเทพรังสรรค์ เร่งระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทยต่อไป ด้านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับให้กรมชลประทานเตรียมพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือ และเจ้าหน้าที่ ให้พร้อมรับมือสถานการณ์และสามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.