สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา  
 



วันที่ 17 มีนาคม 2565 พลเอกประวิตร   วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา รับฟังการบริหารจัดการน้ำของภาคตะวันออก การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราและแนวทางการควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา สภาพปัญหาเชิงพื้นที่และแนวทางแก้ไขของจังหวัดเชิงเทรา พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนบางปะกง และปัญหา อุปสรรค พร้อมแนวแก้ไข โดยมี นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายเฉลิมเกียรติ  คงวิเชียรวัฒน์  รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ พร้อมด้วยนายยงยส  เนียมทรัพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายธีรภัทร  สามไพบูลย์  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต นายโบว์แดง  ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ นายสมเดช  ศรีวิเชียร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร พร้อมด้วยหัวหน้าฝ่าย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมหน่วยงานในสังกัดกรมชลประทาน และหน่วยงานราชการในจังหวัดฉะเชิงเทรา เข้าร่วมประชุมและรับฟังบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ ศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา ด้านมาตรการควบคุมค่าความเค็มในลุ่มน้ำบางปะกง กรมชลประทาน  ได้ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตามมาตราการควบคุมความเค็มที่ได้กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง อาทิ การกำหนดจุดตรวจวัด ระยะเวลา และปริมาณน้ำที่จะระบายจากอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำ เพื่อควบคุมความเค็มไม่ให้เกินมาตรฐาน ทำให้ปัจจุบันค่าความเค็มที่สถานีตรวจวัดค่าความเค็มทั้ง 5 จุด ได้แก่ เขื่อนบางปะกง สถานีวัดบางขนาก สถานีวัดบางแตน จุดสูบการประปาส่วนภูมิภาคสาขาปราจีนบุรี และประตูระบายน้ำหาดยาง อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ส่งผลต่อการเกษตรและการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ นอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว ยังใช้เขื่อนบางปะกง ควบคุมการรุกตัวของความเค็ม ด้วยการปิด-เปิดบานประตูระบายน้ำตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเล สามารถป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มเข้ามาในลำน้ำตอนบนได้ ทำให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทาน ทั้งฝั่งขวา (ตะวันตก) และฝั่งซ้าย (ตะวันออก) ของแม่น้ำบางปะกง พื้นที่รวมประมาณ 700,000 ไร่ สามารถทำการเพาะปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง (นาปี 1 ครั้ง และนาปรัง 1 ครั้ง)  รวมทั้งเป็นแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุนด้านเหนือเขื่อน เพื่อการผลิตน้ำประปา ให้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (สาขาฉะเชิงเทรา, สาขาบางปะกง, สาขาบางคล้า และสาขาปราจีนบุรี) รวมไปถึงการประปาส่วนท้องถิ่นด้วย ช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร  ทั้งยังทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำที่ระบายมาจากอ่างเก็บน้ำตอนบนให้สามารถนำน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยไม่ปล่อยให้น้ำไหลลงทะเลอย่างเปล่าประโยชน์ด้วยในการนี้ รองนายรัฐมนตรี ได้กำชับให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำเค็มในแม่น้ำบางปะกงให้เป็นไปตามแผน  โดยใช้เขื่อนทดน้ำบางปะกง ให้เต็มประสิทธิภาพ และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกตัวที่อาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้น้ำด้านต่างๆ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ให้เป็นระบบในระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นทุกปี ที่สำคัญให้ทำการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ด้วย
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.