สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ สชป.11 พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ไปตรวจราชการและติดตามแผนป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ  
 



วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน 2564 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายวรวิทย์  บุณยเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมชลประทาน และนายยงยส  เนียมทรัพย์  รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายภูวดล คำพุฒ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลหารพิจิตร สำนักงานชลประทานที่ 11 นายสมศักดิ์  ธิมา ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต และหัวหน้าฝ่าย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 11 ร่วมให้การต้อนรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในโอกาสลงพื้นที่ไปตรวจราชการและติดตามแผนป้องกันน้ำท่วม ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ

นายประพิศ  จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยภายหลังการรายงานสถานการณ์น้ำในจังหวัดสมุทรปราการต่อนายกรัฐมนตรีว่า  สาเหตุของการเกิดอุทกภัยในครั้งนี้เนื่องจากเกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ระหว่างวันที่ 26-29 สิงหาคม 2564 ปริมาณฝนสะสมย้อนหลัง 3 วัน ที่สถานีคลองสำโรง วัดได้ถึง 228 มิลลิเมตร เฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู วัดได้กว่า 200 มิลลิเมตร ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวมีน้ำทะเลหนุนสูง และเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้เป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ ต่อมาในช่วงวันที่ 27 สิงหาคม - 2 กันยายน 2564 มีฝนตกหนักในพื้นที่เขตหนองจอก วัดปริมาณฝนสะสมได้มากถึง 225 มิลลิเมตร ทำให้คลองลำปลาทิว และคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต มีระดับน้ำสูงขึ้น ในขณะที่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการยังมีน้ำรอการระบายอยู่ปริมาณมาก ทำให้มีน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชน และนาข้าวประมาณ 12,000 ไร่ ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร

กรมชลประทาน ได้ให้การช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนด้วยการเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ต่างๆ ระบายน้ำลงสู่ทะเลอ่าวไทย ออกทางปลายคลองชายทะเล ได้แก่ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองสุวรรณภูมิ คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน ประตูระบายน้ำ สน.พระยาวิสูตร ประตูระบายน้ำ สน.เทพรังสรรค์ ประตูระบายน้ำชลหารพิจิตร ประตูระบายน้ำชายทะเล นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มบริเวณคลองชายทะเลออกสู่อ่าวไทย เช่น ปตร.นางหงส์ ปตร.ชลหารพิจิตร เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่จนสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ปัจจุบัน ตั้งแต่วันที่ 26  ส.ค. - 10 ก.ย. เป็นต้นมา กรมชลประทานได้ดำเนินการระบายน้ำลงทะเลอ่าวไทยรวม 370 ล้าน ลบ.ม. และระบายลงแม่น้ำบางปะกง 130  ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำได้รวมกว่า 500 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้มีแนวทางการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยในระยะเร่งด่วน ด้วยการทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องสูบน้ำทั้งหมด ส่วนในระยะกลาง มีแผนปรับปรุงคลอง 7 สาย ตามแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ได้แก่ คลองพระองค์ไชยานุชิตคลองปีกกา คลองสำโรง คลองด่าน คลองประเวศน์บุรีรมย์ คลองอุดมชลขจร และคลองชวดพร้าว-เล้าหมู-บางพลีน้อย
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.