สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
ลงพื้นที่ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ  
 



พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิการบดีกรมชลประทาน ร่วมให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในคลองพระยาบรรลือโดยมี ผู้บริหารกรมชลประทาน และนายวรวิทย์  บุณยเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายสมัย  ธรรมสัตย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 11 และผู้อำนวยการส่วน ผู้อำนวยการโครงการ เข้าร่วม ณ ที่ว่าการอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์ค่าความเค็มในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า จากสถานการณ์ฝนตกน้อยกว่าค่าปกติที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณน้ำในลุ่มเจ้าพระยามีปริมาณลดน้อยตามลงไปด้วย ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุน จึงส่งผลให้เกิดค่าความเค็มในน้ำเพิ่มสูงขึ้น กรมชลประทาน จึงได้วางมาตรการในการบริหารจัดการน้ำ เพื่อผลักดันค่าความเค็มลุ่มน้ำเจ้าพระยาด้วยการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักเพิ่มเติม รวมกันประมาณวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. และควบคุมการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 80 ลบ.ม.ต่อวินาที และเขื่อนพระรามหกอีกประมาณ 6 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อผลักดันค่าความเค็ม รวมทั้งทำการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองผ่านแม่น้ำท่าจีนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านทางคลองพระยาบันลือประมาณ 27 ลบ.ม.ต่อวินาที และคลองพระพิมลประมาณ 19 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมกับติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำในคลองพระยาบันลือและคลองพระพิมลรวม 102 เครื่อง เร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาไปไล่ความเค็มไม่ให้รุกเข้าไปทางตอนบน  นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้ดำเนินการขุดลอดตะกอนในคลองพระยาบันลือ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่รับมาจากแม่น้ำท่าจีน ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้ความเค็มรุกล้ำเข้าไปถึงพื้นที่ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะบริเวณโรงสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ที่เป็นจุด  สูบน้ำดิบของการประปานครหลวง  อีกทางหนึ่งด้วย ปัจจุบัน(31 ม.ค.63) จุดเฝ้าระวังและควบคุมความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยาที่โรงสูบน้ำดิบสำแลของการประปานครหลวง จ.ปทุมธานี ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.17 กรัม/ลิตร (เกณฑ์เฝ้าระวัง 0.25 กรัม/ลิตร มาตรฐานเพื่อการผลิตประปาไม่เกิน 0.50 กรัม/ลิตร) ส่วนที่ลุ่มน้ำท่าจีน บริเวณปากคลองจินดา ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.22 กรัม/ลิตร(เกณฑ์เฝ้าระวังสำหรับกล้วยไม้ 0.75 กรัม/ลิตร) และลุ่มน้ำแม่กลอง บริเวณปากคลองดำเนินสะดวก ตรวจวัดค่าความเค็มได้ 0.15 กรัม/ลิตร สถานการณ์ค่าความเค็มอยู่ในเกณฑ์ปกติ ตามภาวการณ์ขึ้นลงของน้ำทะเล ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเฝ้าระวังติดตามคุณภาพน้ำอย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้กระทบต่อน้ำดิบสำหรับการผลิตน้ำประปาบริเวณโรงสูบน้ำดิบสำแล  อ.เมือง จ.ปทุมธานี จึงต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมใจกันใช้น้ำตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การควบคุมค่าความเค็มเกิดประสิทธิภาพและลดการสูญเสียน้ำโดยปล่าวประโยชน์ให้มากที่สุด

 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.