สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่พูดคุยและรับฟังความคิดเห็น เวทีประชาคม เพื่อขับเคลื่อนการพพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน  
 



วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.30 น.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางตรวจราชการจังหวัดนครปฐม โดยมีนายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบริหาร กรมชลประทาน นายพงศ์ศักดิ์ อรุณวิจิตรสกุล ผู้อำนายการสำนักงานชลประทานที่ 11 นายคำนึง ชูชาติ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล นายพีระพงศ์ ลิมปนาธร ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ นายภูมิวิทย์ นารถสกุล หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล หัวหน้าฝ่าย และเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วย หัวหน้าหน่วยราชการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ให้การต้อนรับ โดยเดินทางมาเยี่ยมชมนาบัวลุงแจ่ม สวัสดิ์โต บ้านศาลาดิน หมู่ที่ 3 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย พร้อมทั้งเดินทาง พูดคุยและรับฟังความคิดเห็น เวทีประชาคม เพื่อขับเคลื่อนการพพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ระดับตำบล และเยี่ยมชมตลาดน้ำบ้านศาลาดิน (ตลาดประชารัฐ คนไทยยิ้มได้ ) การจัดการท่องเที่ยว ชุมชนเชิงเกษตรเชื่อมโยงตลาดประชารัฐ ในการนี้นายวันชัย สวัสดิ์แดง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ใช้น้ำเพื่อการเกษตร รายงานความเป็นมาของชุมชน บ้านศาลาดิน การรวมกลุ่มจัดการปัญหา โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้ในพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน
สำหรับบ้านศาลาดิน แต่เดิมมีอาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวปีละครั้ง เป็นสาเหตุให้เกษตรกรยากจน ขาดที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงทราบถึงปัญหา จึงได้พระราชทานที่ดินส่วนพระองค์ให้แก่เกษตรกรจำนวน 1,009 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมีสำนักงานปฏิรูปให้เกษตรกรแปลงละ 10 ไร่ ให้เกษตรกรเข้าทำกินได้ ในปี พ.ศ. 2520 และพระราชทานการทำเกษตรผสมผสาน ชุมชนบ้านศาลาดิน ซึ่งมีความเป็นอยู่ดีขึ้น เมื่อได้รับพระราชทานที่ดินทำการเกษตรเกษตรกรชุมชนบ้านศาลาดิน จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริหลักเศรษฐกิจพอเพียงและทำการเกษตรผสมผสานตามลักษณะภูมิสังคม ได้แก่ปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ปลูกพืชตามคันนาเป็นพืชล้มลุก เช่น พริก กะเพรา โหระพา และปลูกผลไม้ เช่น มะพร้าว มะม่วงพันธุ์ต่างๆ กล้วย ขนุน เพื่อขายเป็นรายได้ในช่วงรอเก็บเกี่ยวพืชหลัก เมื่อมีผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากก็นำมาแปรรูป เช่น กล้วยตาก กล้วยเบรกแตก เป็นต้น นำไปขายในตลาดเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังมีการเลี้ยง ปลานิล ปลาตะเพียน ในท้องร่อง ให้เศษผักผลไม้เป็นอาหาร โดย ไม่ต้องซื้ออาหารสำเร็จรูป ผลสำเร็จที่เห็นได้ชัดเจน คือ แปลงบัว หรือ นาบัว มีพื้นที่ 20 ไร่ เป็นแปลงเกษตรที่ทำรายได้มากที่สุด สามารถสร้างรายได้ รายวัน รายเดือน และรายปี เกษตรกรจะมีรายได้จากการตัดดอกบัวขายทุกวัน เฉลี่ยวันละประมาณ 2,000 บาท และยังมีรายได้จากปลาที่เลี้ยงในแปลงบัวปีละไม่ต่ำกว่า 40,000 บาท นอกจากนี้ รอบคันของแปลงบัวยังปลูกพืชล้มลุก พืชผักสวนครัว เช่น ตะไคร้ กะเพรา โหระพา เตยหอม เพื่อนำไปขายเป็นรายได้รายวันอีกไม่ต่ำกว่าวันละ 300 บาท
 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.