สำนักชลประทานที่ 11
 
 
 
 

 
 


 
นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายชัยนรินท์ พันธ์ภิญญาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ ๑๑ นำคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ พลเอกพิศาล วัฒนวงษ์คีรี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะกรรมการ  
 



  เมื่อวันพฤหัสบดีที่  ๕  เมษายน  ๒๕๕๕  นายเลิศวิโรจน์  โกวัฒนะ  อธิบดีกรมชลประทาน  นายชัยนรินท์  พันธ์ภิญญาภรณ์  ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ ๑๑  นำคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ  พลเอกพิศาล  วัฒนวงษ์คีรี  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พร้อมคณะกรรมการติดตามโครงการตามแผนปฏิบัติการเพื่อบรรเทาอุทกภัยระยะเร่งด่วน แผนดำเนินการเร่งขุดลอกคูคลอง และปรับปรุงสถานีสูบน้ำ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา  โดยมี  นายชัยพร  พรหมสุวรรณ  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระพิมล ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุป และนายประสงค์  อินดนตรี  ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาภาษีเจริญ ให้การต้อนรับพร้อมบรรยายสรุป  ปัจจุบันกรมชลประทานอยู่ในระหว่าง การดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากพื้นที่ตอนบนลงสู่ตอนล่างโดยการขุดลอก และกำจัดวัชพืชในทางน้ำชลประทาน และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำออกจากพื้นที่โดยการก่อสร้างสถานีสูบน้ำแห่งใหม่ ปรับปรุงสถานีสูบน้ำที่มีอยู่เดิม ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ตามอาคารชลประทานต่างๆ เพื่อเร่งระบายน้ำจากพื้นที่ออกสู่แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และระบายสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง  ทั้งนี้ในระยะเร่งด่วนจะดำเนินการใน 2 ส่วน คือ 1.การขุดลอก และกำจัดวัชพืชในทางน้ำชลประทาน จำนวน 17 สายคลอง อัตราการระบายน้ำเพิ่มขึ้น 20 ลบ.ม./วินาที ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2555   และ 2. การปรับปรุงสถานีสูบน้ำที่มีอยู่เดิม จำนวน 1 แห่ง และ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ตามอาคารชลประทาน จำนวน 126 เครื่อง อัตราการระบายน้ำเพิ่มขึ้น 396 ลบ.ม./วินาที ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2555 หรือคิดเป็นปริมาณน้ำที่ระบายได้สูงสุดต่อวันถึง 35.94 ล้านลูกบาศก์เมตร   นอกจากนั้น กรมชลประทานยังมีแผนดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำแห่งใหม่เพิ่มเติมอีกในปีงบประมาณ 2555-2556 ริมแม่น้ำท่าจีน จำนวน 7 แห่ง โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 3.00 ลบ.ม./วินาที จำนวน  44  เครื่อง สามารถระบายน้ำได้ 132 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันอยู่ในระหว่างดำเนินการออกแบบคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2555 นี้ หลังจากนั้นจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2556   เมื่อโครงการทั้งหมดแล้วเสร็จ จะสามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลฯ ด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยารวมกันได้ 548 ลบ.ม./วินาที คิดเป็นปริมาณน้ำ 47.35 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันตก โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และกรุงเทพมหานครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ............................................ 

 

คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี            ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตใต้ สำนักชลประทานที่ ๑๑ ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ โดย นายชลิต  ดำรงศักดิ์  อธิบดี กรมชลประทาน
คณะ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ตรวจราชการดูงานการบริหารจัดการน้ำ ณ ประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ โครงการ...  
   
 
Copyright 2551 Irrigation Office 11 Bang Talat, Pak Kret, Nonthaburi 11120.
    All visitors.  
Since January 4, 2553.